โรคซีสต์ : อาการ สาเหตุ การรักษา
ซีสต์ หรือถุงน้ำ คือ ถุงเยื่อที่บรรจุของเหลว อากาศหรือสารอื่น ๆ ซีสต์สามารถเติบโตได้เกือบทุกที่ในร่างกายหรือแม้แต่ใต้ผิวหนัง
ซีสต์มีหลายประเภท ซีสต์ส่วนใหญ่นั้นไม่เป็อันตรายและไม่เป็นสาเหตุของมะเร็ง การรักษานั้นขึ้นกับรายละเอียดของซีสต์ดังนี้:
- ประเภทของซีสต์
- ตำแหน่งของซีสต์
- ความเจ็บปวดของซีสต์
- การติดเชื้อของซีสต์
ซีสต์เกิดจากอะไร
ซีสต์นั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาจจะเป็นปัจจัยดังต่อไปนี้:
- การติดเชื้อ
- โรคทางพันธุกรรม
- การอักเสบเรื้อรัง
- การอุดตันของท่อน้ำเหลือง
โดยสาเหตุนั้นจะสอดคล้องกับประเภทของซีสต์
ประเภทของซีสต์
ซีสต์นั้นมีหลากหลายนับร้อยชนิด อาการของซีสต์นั้นแตกต่งกันไป ซีสต์สามารถเกิดได้เกือบทุกส่วนในร่างกายของคุณ ซีสต์บางชนิดเป็นอาการของบางโรค เช่น PCOS หรือ PKD โดยซีสต์ที่พบบ่อยได้แก่
ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง Epidermoid cyst
ซีสต์ประเภทนี้มีขนาดเล็ก เป็นถุงที่เต็มไปด้วยด้วยโปรตีนเคราติน หากมีแผลรอบ ๆ รูขุมขนภายในผิวหนังอาจเกิดถุงน้ำ หากส่วนของหนังกำพร้านั้นเติบโตลึกกว่าแทนที่จะอยู่ด้านนอกสุด นั้นเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดซีสต์
ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังอาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมอย่าง โรคกลุ่มดาวน์ซินโดรมของการ์ดเนอร์
ซีสต์ไขมันผิวหนัง Sebaceous cyst
ซีสต์ไขมันเกิดภายในต่อมไขมัน โดยต่อมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของผิวหนังและรูขุมขน ต่อมไขมันที่อุดตันสามารถนำไปสู่ซีสต์ไขมัน โดยหน้าที่ของต่อมไขมัน คือ ผลิตน้ำมันสำหรับผิวหนังและเส้นผมของคุณ ซีสต์ไขมันนั้นเต็มไปด้วยไขมัน
ซีสต์ปมประสาท Ganglion cyst
ซีสต์ประเภทนี้จะเกิดขึ้นใกล้บริเวณรอยต่อของข้อมือ หรือมือ อย่างไรก็ตามซีสต์เหล่านี้สามารถได้ในเท้าหรือข้อเท้าของคุณ โดยซีสต์ประเภทนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดซีสต์ปมประสาทมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นตามเอ็นใกล้กับข้อต่อ และพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ซีสต์รังไข่ Ovarian cyst
ซีสต์รังไข่มักจะเกิดขึ้นกลุ่มเซลล์ที่ปล่อยไข่ไม่เปิดตามปกติ ส่งผลให้เกิดถุงน้ำหรือซีสต์ ซีสต์รังไข่ที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นหลังจากกลุ่มเซลล์ปล่อยไข่ จากนั้นมีการเก็บของเหลวไว้อย่างไม่เหมาะสม ซีสต์รังไข่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยมีประจำเดือน ซีสต์รังไข่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง หากเกิดขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน
ซีสต์ในเต้านม Breast cyst
ซีสต์ประเภทนี้เกิดขึ้นในเต้านม โดยเป็นถุงของเหลวที่อยู่ใกล้ต่อมเต้านม โดยมักเกิดในผู้หญิงอายุ 30-40 ปี โดยอาจมีอาการปวดในบริเวณที่มีซีสต์
ซีสต์ที่เปลือกตา หรือ ตากุ้งยิง Chalazia
ตากุ้งยิงเป็นซีสต์ที่อ่อนนุ่มบนเปลือกตา โดยเกิดจากท่อต่อมน้ำมันถูกปิดกั้น ซีสต์เหล่านี้อาจทำให้การมองเห็นไม่ชัด บวมหรือเจ็บปวดได้ หากมีขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น
ซีสต์ที่ก้น Pilonidal cyst
ซีสต์ประเภทนี้อยู่บริเวณส่วนบนสุดกลางของก้นเต็มไปด้วยเศษผิวหนัง น้ำมัน ขนและอื่น ๆ
ซีสต์ที่ก้นเกิดขึ้นบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเกิดเมื่อขนคุดฝังอยู่ในผิวของคุณ มีการศึกษาพบว่า การติดเชื้อเรื้อรังในซีสต์ประเภทนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell carcinoma
ซีสต์หลังหัวเข่า Baker’s cyst
ซีสต์ประเภทนี้คือ ถุงน้ำที่เต็มไปด้วยของเหลวที่เกิดขึ้นในตำแหน่งด้านหลังของหัวเข่า ซีสต์เหล่านี้มักเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับหัวเข่า เช่น การบาดเจ็บที่เข่าหรือโรคไขข้อ โดยซีสต์นี้ส่งผลต่อความลำบากต่อการเคลื่อนไหวในการเดิน สามารถรักษาด้วยการระบายของเหลวออก และยารักษา
สิวอักเสบเรื้อรัง Cystic acne
สิวอักเสบเรื้อรังเกิดจากการรวมกันของแบคทีเรีย น้ำมันและผิวหนังที่อุดตันรูขุมขน เป็นสิวชนิดที่รุนแรงที่สุดในวัยหนุ่มสาว แต่มักหายไปเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สิวเรื้อรังอาจมีลักษณะเป็นตุ่มหนองขนาดใหญ่ นอกจากนี้เมื่อสัมผัสโดนจะทำให้เกิดความเจ็บปวดได้
ขนคุด Ingrown hair cyst
ขนคุดเกิดจากการที่เส้นผมงอกเข้าไปในผิวหนังทำให้เกิดซีสต์ ซีสต์ประเภทนี้พบมากในคนกำจัดขนด้วยการโกนและการแว็กซ์
โดยปกติขนคุดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตามหากพบว่าติดเชื้อควรรับการรักษาจากแพทย์
ซีสต์ไขมันที่หนังศีรษะ Pilar cyst
ซีสต์ประเภทนี้เป็นก้อนเนื้ออ่อนนุ่ม มักพบบริเวณหนังศีรษะ ซีสต์ประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง การผ่าตัดเพื่อนำออกนั้นไม่จำเป็น แต่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลด้านความงาม
ซีสต์เมือก Mucous cyst
ซีสประเภทนี้เป็นก้อนที่เต็มไปด้วยของเหลว มักเกิดบริเวณริมฝีปาก หรือรอบปาก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของซีสต์เมือก ได้แก่:
- กัดริมฝีปากหรือกระพุ้งแก้ม
- เจาะปาก
- ต่อมน้ำลายแตก
- รับทันตกรรมที่ไม่มีสุขอนามัย
ซีสต์เมือกมักจะหายไปเอง อย่างไรก็ตามหากพบซีสต์เมือกซ้ำๆ หรือเรื้องรัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
ซีสต์ที่คอ Branchial cleft cyst
ซีสต์ที่คอ คือ ความผิดปกติที่ก่อให้เกิดเป็นก้อนที่คอหรือใต้กระดูกไหปลาร้า ซีสต์ประเภทนี้มักมีขนาดใหญ่ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
การรักษาซีสต์
การดูแลผู้ป่วยซีสต์
ซีสต์บางชนิดสามารถหายได้เอง การบรรเทาด้วยการวางลูกประคบอุ่นลงบนซีสต์สามารถช่วยบรรเทาอาการของซีสต์บางชนิดได้ ไม่ควรบีบหรือแคะแกะเกาซีสต์ไม่ว่ากรณีใดๆ เนื่องจากทำให้เกิดการติดเชื้อได้
การรักษาซีสต์ด้วยวิธีทางการแพทย์
การรักษาซีสต์โดยมีดังนี้:
- การระบายของเหลวและสิ่งอื่น ๆ จากถุงซีสต์โดยใช้เข็ม
- แพทย์ให้ยา เช่น การฉีด Corticosteroid เพื่อลดการอักเสบของซีสต์
- การผ่าตัดซีสต์ออก แนะนำในผู้ป่วยที่การระบายของเหลวไม่ทำงาน หรือซีสต์อยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยากและต้องได้รับการรักษา
ทรัพยากร
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ovarian-cysts/symptoms-causes/syc-20353405
cialis reviews The dog s skin is less red and inflamed after being treated with Apoquel and antibiotics